logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • e-Learning

e-Learning

โดย :
พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
เมื่อ :
วันจันทร์, 05 เมษายน 2553
Hits
26820

ระบบการศึกษาทางไกล (Distance learning) หรือ e-Learning เป็นระบบการศึกษาที่กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ประเทศไทยมาหลายปีแล้ว

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)


 

บทนำ
          ระบบการศึกษาทางไกล (Distance learning) หรือ e-Learning เป็นระบบการศึกษาที่กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ประเทศไทยมาหลายปีแล้ว เช่น การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น  ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆของ e-Learning สามารถนำเสนอ โดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

กรณีศึกษา E-learning
 
          ในปัจจุบันความนิยมในการศึกษาแบบ e-learning นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะการศึกษาในลักษณะนี้สามารถตอบโจทย์ของผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาได้หลายประการ เช่น นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงทำให้สามารถทำลายกำแพงปัญหาในด้านเวลาและสถานที่ได้อย่างชัดเจน หรือแม้กระทั่ง สามารถช่วยนักเรียนที่นั่งหลับในห้องเรียน ให้สามารถทบทวนเก็บตกบทเรียนได้ในภายหลัง เป็นต้น ในส่วนของแวดวงการศึกษาในต่างประเทศ ในขณะนี้มีหลายประเทศที่กำลังพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลทั้งในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกด้วยวิธีผ่านทาง Internet และด้วยวิธีผสมผสาน  โดยมีการเรียนในห้องเรียนที่น้อยลง แต่ผ่านทาง Internet มากขึ้น ที่เห็นชัดๆ ก็เช่น ในประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ University of Phoenix, Capella University, Walden University  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยออนไลน์ และกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในทุกๆสาขาวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาบริหารธุรกิจ อีกตัวอย่างของความนิยมของการศึกษาแบบนี้ เมื่อเร็วๆนี้ โดยนิตยสาร The Economist รายงานว่า หลักสูตร M.B.A. ดีที่สุดในโลก1 ตกเป็นของโรงเรียนธุรกิจ The Hough Graduate School of Business ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา (University of Florida) ซึ่งการเรียนการสอนเป็นรูปแบบทางไกลทั้งหมด ถือเป็นการสำรวจหลักสูตรการเรียนทางไกลครั้งแรก ซึ่งสำรวจโดย The Economist Intelligence Unit (EIU) โดยพิจารณาจากเนื้อหา คุณภาพนักศึกษาและวิธีการเรียนทางไกล ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ แต่นักศึกษาทุกคนต้องมาพักอยู่ที่มหาวิทยาลัย 1 สัปดาห์ทุกภาคเรียน เพื่อจะได้พบปะกับเพื่อนนักศึกษาและผู้สอน ทั้งนี้การศึกษาแบบออนไลน์นี้เริ่มมีมากขึ้นในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาเชื่อในการเปลี่ยนแปลงของโลกนั่นเอง 

          ในส่วนของการศึกษาด้านการสาธารณสุข (e-Health Education) ก็เริ่มที่จะเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ดังจะเห็นได้จากการที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในด้าน Healthcare (การสาธารณสุข) ในสาขาต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น Radiology (รังสีวิทยา) จาก Department of Health, the NHS and professional bodies ซึ่งได้รับรางวัล e-Government National Awards 2008 โดยการเรียนการสอนในโปรแกรมดังกล่าว เป็นการใช้ e-Learning ตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยจะมีเอกสารประกอบการสอนไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความต่างๆ  สื่อการสอน รวมถึงห้วงเวลาในการฝึกปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริง  เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติการศึกษาในด้านการแพทย์ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาแบบเจาะลึกในประเด็นต่างๆ และมีความร่วมมือทางการศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้ระบบการสอนทางไกลเป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีผู้เข้ารับการศึกษาที่ผ่านมาได้รับประโยชน์จากการศึกษาในลักษณะนี้ โดยผู้เข้ารับการศึกษาคนหนึ่งได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ผมสามารถที่จะเข้าถึงเครื่องมือต่างๆ และภาพประกอบที่มีความชัดเจนได้ทั้ง 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผมไม่จำเป็นต้องรอห้วงเวลาการเรียนการสอนในคาบเรียน  ซึ่งผมสามารถที่จะศึกษาเมื่อใดก็ได้ตามที่ผมมีโอกาสและความต้องการที่อยากจะเรียน”


e-Learning for Healthcare webpage (at Department of Healthcare)

          อีกตัวอย่าง คือ การศึกษาทางด้าน Pharmacology (เภสัชวิทยา) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง University of Heidelberg - Department of Tropical Hygiene and Public Health (ATHOEG), Medical University of Southern Africa (MEDUNSA), Intercultural Consultance and Studies (INCCAS)  โดยในหลักสูตรนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาระบบการบริหารในการใช้ยาในระดับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้บุคลากรจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลางได้ทำการศึกษาร่วมกัน โดยไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเดินทาง การเรียนการสอนจะแบ่งเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย การแนะนำหลักสูตรทางด้านออนไลน์, การเรียนการสอน (course) และการทำเวิร์คชอบในตอนท้ายของหลักสูตร  ในส่วนของการเรียนการสอนในเฟสที่ 2 นั้นจะแบ่งออกเป็น 6 โมดูล โดยในแต่ละโมดูลจะมีการทำแบบฝึกหัดในตอนท้ายและการทดสอบ และในตอนท้าย (เฟส 3) ก็จะมีการทำเวิร์คชอปและการทำโปรเจคที่เกี่ยวข้องกับ medicine management ของตนเองและกลุ่ม ซึ่งนั้นหมายความว่าจะต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างประเทศโดยอาศัยสื่ออิเลคทรอนิกส์เป็นหลักนั่นเอง


Course lecture of online Pharmacology

          อีกตัวอย่างของการใช้ e-Learning กับการศึกษาทางด้านสาธารณสุข  ในประเทศโคโซโว ได้มีการศึกษาในระบบนี้มากว่า 3 ปีแล้ว ในชื่อโปรแกรมว่า Telemedicine Program of Kosovo (TCK)6 โปรแกรมนี้เป็นการดำเนินโครงการในการเรียนการสอนที่เรียกว่า e-Health Education ซึ่งจะใช้ห้องสมุดอิเลกทรอนิกส์  การประชุมทางวิทยาศาสตร์ การสัมมนา  การทำเวิร์คชอป และการออกอากาศแบบสดในขั้นตอนของการผ่าตัด  ทั้งนี้จุดประสงค์ของโปรแกรมดังกล่าวก็เพื่อจัดตั้งการศึกษาทางไกลให้กับ health care provider หลายๆ แห่งของ University Clinical Centre of Kosovo (UCCK)  ทั้งนี้โปรแกรมดังกล่าวจะจัดสรรบทความทางการแพทย์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ของประเทศโคโซโว รวมถึงการให้ความร่วมมือกันในการกำหนดโครงสร้างทางการศึกษาด้านการแพทย์  โดยผู้ที่เข้าโปรแกรมนี้จะมีทั้งนักเรียนแพทย์  พยาบาล แพทย์ ชุมนุมวิทยาศาสตร์ของ UCCK และคณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ของ University of Prishtina ซึ่งผลที่เรียกว่าสำเร็จที่สุดของ TCK นี้คือ ระบบห้องสมุดอิเลกทรอนิกส์ (e-Library) ซึ่งมีบทความออนไลน์มากกว่า 1,800 บทความ ภาพ monographs และหนังสือ  ซึ่งเพียงแค่ในเดือน สิงหาคม 2006 เดือนเดียว มีผู้ใช้บริการมากกว่า 20,000 ราย ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการทำ video conference มากกว่า 20 ครั้ง  ไปจนถึงการทำเวิร์คชอป  การสอนกระบวนการในการผ่าตัด (surgical procedures) รวมแล้วมากกว่า 2,000 ครั้ง ตลอดห้วงระยะเวลา 3 ปี


Partnership of Telemedicine Program of Kosovo (TCK)


          จากตัวอย่างในข้างต้นจะเห็นว่า การเรียนแบบ Distance learning เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสังคมต่างประเทศ ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวนั้นได้เริ่มเข้ามามีส่วนผลักดันคุณภาพทางการศึกษาและระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อสำเร็จการศึกษาไป ความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในระบบออนไลน์นี้ จะช่วยสร้างความคุ้นเคยในการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่รีบเร่ง และแข่งกับเวลาอยู่อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งถ้าหากกล่าวถึงในระบบเศรษฐกิจนั้น องค์ความรู้จะได้มาจากองค์ประกอบหลายๆทาง ไม่ว่าจะได้จากความรู้สามารถและศักยภาพของตนเองที่มาจากประสบการณ์และการศึกษา และรวมไปถึงสภาพแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ การศึกษาทุกหนแห่งและทุกเวลา (Ubiquitous Education) ในอนาคตได้ ทั้งนี้คุณสามารถทำงานในบ้าน ในโรงแรม ในเครื่องบิน หรือคนที่คุณทำงานให้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคุณกำลังทำงานอยู่ที่ประเทศอะไรหรือเวลาอะไร จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าคนงานกว่า 1 ใน 4 ของสหรัฐอเมริกา ทำงานล่วงเวลา ทำงานอิสระ หรือเป็นพนักงานชั่วคราว โดยเฉพาะในกลุ่มไฮเทค มีเพียง 1 ใน 3 ของชาวแคลิฟอร์เนีย ที่ทำงานในที่ทำงานแบบ 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น  หรือกว่า 80% ของพนักงานบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems – Solaris) ทำงานล่วงเวลาอยู่ที่บ้าน โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีสำหรับ คนทำงานที่บ้านอย่างเดียว  สูงกว่า 5 หมื่นดอลล่าร์ต่อปี สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนสัญญาณบางอย่างของการทำงานในอนาคต ดังนั้นแนวโน้มในการศึกษาและแนวทางในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้คนปัจจุบันไปจนถึงในอนาคตอันใกล้นี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมในรูปแบบใหม่ที่ผู้คนที่นั่งโต๊ะ กำลังละทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนจากประเทศบ้านเกิดของเขา ทั้งทางกายภาพและทางเสมือน (ผ่านอินเทอร์เน็ต)  เพื่อไปทำงานในที่ๆ ปฏิบัติต่อพวกเขาดีกว่า และบ่อยครั้งผู้ละทิ้งเหล่านี้ เป็นผู้ที่มีค่าที่สุด ดังที่หนังสือ As The Future Catches You กล่าวไว้

แนวโน้มของการศึกษาแบบ e-Learning กับการสาธารณสุขในประเทศไทย
          การศึกษาด้วยวิธี e-Learning  ในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันได้รับการยอมรับให้มีคุณวุฒิเทียบเท่ากับการศึกษาแบบระบบปกติ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามีมาตรฐานที่เทียบเท่า  ในความเป็นจริงไม่เพียงแต่ระบบการศึกษาทางไกลผ่าน Internet ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาในห้องเรียนปกติ ในเรื่องของมาตรฐานและรับรองวิทยฐานะ เฉพาะระบบการศึกษาในห้องเรียนเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่จบว่ามีมาตรฐานไม่เท่ากัน  ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีในตลาดแรงงาน เราจะเห็นได้ว่ามาตรฐานทางการศึกษาในประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับระบบการบริหารการจัดการที่ดีและชื่อเสียงเก่าแก่ของสถาบัน มากกว่ารูปแบบการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันการให้โอกาสทางการศึกษาต่างหากที่เป็นประเด็นที่ประเทศที่เจริญแล้วให้ความสนใจอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญมากกว่าในประเด็นของมาตรฐานการศึกษาเสียอีก นั่นอาจเป็นเพราะว่าประเทศเหล่านั้นเชื่อว่า  ในที่สุดคุณภาพนั้นจะถูกตัดสินโดยตลาดงานเอง  ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่ามาตรฐานการศึกษาหมายถึงการที่ประชากรทุกคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ ณ มุมใดก็มีโอกาสได้รับการศึกษาในหลักสูตรเดียวกันได้อย่างเท่าเทียมและเปิดโอกาสให้นักเรียนและครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนในท้ายที่สุด

          ในส่วนของการศึกษาทางไกลในประเทศไทยกำลังเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวไปข้างต้น  ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ได้ระยะหนึ่งแล้ว  แต่ความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนการสอนที่เป็นลักษณะหลักสูตรการเรียนการสอนสั้นๆ มากกว่าจะศึกษาในระดับปริญญา ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญของการนำ e-Learning เข้ามาสู่สังคมไทย นั่นคือค่านิยมที่ยังฝังลึกของการศึกษาแบบเดิม ทั้งนี้มหาวิทยาลัย ในประเทศไทยนั้น มีมากกว่า 100 แห่ง เพียงแค่ในกรุงเทพมหานคร ก็มีมหาวิทยาลัยอยู่มากกว่า 30 แห่ง ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ไปจนกระทั่งปริญญาเอก แต่มีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน นักศึกษาส่วนใหญ่จึงพยายามที่จะเข้าสู่รั้วของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับให้ได้ ทำให้การเรียนในระบบออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยมมากเท่าใดนัก


การเรียนการสอนในระบบ e-Learning ในประเทศไทย

          ย้อนกลับมาที่คุณภาพของ e-Learning ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนโดยทั่วไปก่อนที่จะเริ่มทำการสอน อาจารย์ทุกคนต้องผ่านการ Train ซึ่งต้องทำผ่าน Internet ทั้งหมด มหาวิทยาลัยจะส่งสัญญาการจ้างและ Faculty Training CD มาทาง FedEx โดยมีงานที่ได้รับมอบ (Assignment) ให้ปฏิบัติ เช่นการค้นหาข้อมูลจาก e-Library ของมหาวิทยาลัย มีการทดสอบให้ทำการตรวจข้อสอบและให้คะแนนในระบบ online ของมหาวิทยาลัย มีการทดสอบให้ทำการตอบคำถามของนักศึกษาบนระบบ Threaded Discussion อาจารย์ใหม่ทุกคนจะได้รู้จักและพูดคุยกันกันบนระบบนี้ ซึ่งต้องทำงานที่ได้รับมอบ ให้เสร็จตามกำหนด  หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยจะกำหนดวิชาและเริ่มทำการสอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถรับประกันถึงความสามารถของผู้ที่จะสอนได้ในระดับหนึ่ง

          ในส่วนของการนำระบบ e-Learning มาใช้กับการเรียนการสอนด้านการสาธารณสุขในประเทศไทยนั้นถือได้ว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีการนำระบบ e-Learning มาใช้ในสถานศึกษาด้านการสาธารณสุขอยู่บ้าง เช่น ในวิทยาลัยพยาบาลพยาบาลราชชนนีและวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก  ซึ่งก็ได้นำระบบการศึกษาออนไลน์ มาใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล  ในส่วนของความนิยมในการศึกษาด้านการแพทย์ของประเทศไทย ก็มีลักษณะคล้ายกันกับที่กล่าวในข้างต้น กล่าวคือ การใช้ e-Learning ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก (นักศึกษาแพทย์นิยมการเรียนแบบ resident มากกว่า)  ซึ่งยังไม่มีสถิติหรือรายงานปรากฏว่าการเรียนการสอนด้านการแพทย์ของประเทศไทย มีการเรียนการสอนที่ใช้ระบบ e-Learning อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้อาจจะมีการเรียนการสอนเป็นเพียงหลักสูตรสั้นๆ หรือการใช้ระบบ e-Learning เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนในรูปของการรับ-ส่งการบ้าน หรือการอ่านสรุปเนื้อหาในชั้นเรียนเท่านั้น สาเหตุที่ระบบ e-Learning ยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขในประเทศไทยก็เนื่องมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน บุคลากรด้านการสาธารณสุขที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร รวมไปถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร และ Internet 


e-Learning ของวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง

บทส่งท้าย
          ความรู้เป็นสิ่งที่ล้าสมัยได้อย่างรวดเร็วมาก  มีการคาดไว้ว่าใน 5 ปีข้างหน้า ความรู้จะเพิ่มพูนขึ้น 100% ในทุกๆ 6 เดือน ในขณะเดียวกันสังคมไทยก็เริ่มมีการยอมรับกับคำว่า Knowledge Workers หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า “แรงงานเปรื่องปัญญา” บรรดานายจ้างในทุกภาคอุตสาหกรรมต่างก็ต้องการแรงงานเหล่านี้ด้วยการใช้ค่า จ้างที่สูงมากเป็นสิ่งดึงดูดใจ ทำให้เหล่าแรงงานในตลาดปัจจุบันรวมถึงกลุ่มนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาและ เดินเข้าสู่ตลาดแรงงานจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา ส่งผลให้การศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบใหม่จะเน้นที่การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์จริงในวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ ให้กับแรงงานเปรื่องปัญญาเหล่านี้มากขึ้น  

          ในเวลาอีก 5 ปีต่อจากนี้ไป เราจะเริ่มเห็นการสอนหลักสูตรสำหรับแรงงานเปรื่องปัญญาและนักบริหารระดับสูงผ่านทางอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ เพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่มีเวลาที่จะเข้าศึกษาในระบบแบบมีห้องเรียนปกติอีกต่อไป การปฏิวัติสารสนเทศจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่กับระบบและรูปแบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย  และจะยิ่งส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการศึกษาต่อเนื่องของแรงงานเปรื่องปัญญา  แบบที่เรียกว่า Any-where Any-time Any-person!

          สิ่งที่น่าสนใจที่ขอทิ้งท้ายไว้คือ  ในปี 1950  สิงคโปร์  เป็นเกาะเล็กๆ ยากจน และโดดเดี่ยว อนาคตของประเทศมืดมน  จนผู้นำของประเทศต้องไปขอรวมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ผู้นำมาเลเซียมองว่า  การรวมกับสิงคโปร์  จะทำให้ประเทศยากจนลง  จึงปฏิเสธคำขอดังกล่าว   สิงคโปร์ไม่มีทางเลือก  นอกจากให้การศึกษากับประชาชนของตน  ปฏิรูปรัฐบาล  และสั่งสมความรู้ ก้มหน้าก้มตาทำงาน  ภายใต้การนำของรัฐบุรุษ  ลี กวน ยู  เขาให้ความสำคัญกับการศึกษา และคนเก่ง  จนทำให้ปี 1999  ชาวสิงคโปร์รวยกว่าชาวอังกฤษ 2 เปอร์เซ็นต์ ทุกวันนี้ ชาวสิงคโปร์ มีมาตรฐานความเป็นอยู่เทียบเท่ากับคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสูงกว่าชาวมาเลเซียเกือบ 3 เท่า และที่น่าสนใจคือในสิงคโปร์มีการเรียนแบบ Distance learning  ระดับปริญญาผ่าน Internet จากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกาเต็มไปหมด

เอกสารอ้างอิง
1.  Ryo, “สุดยอด Online M.B.A. มหาวิทยาลัยฟลอริดา”, http://202.44.68.33/node/343
2.  20 Best Business Schools: Traditional and Online, November 25th, 2008 in Business, Education, Resource http://www.collegecrunch.org/business/20-best-business-schools-traditional-and-online/
3.  Department of Health in partnership with Professional Bodies and the NHS, News articles, http://www.e-lfh.org.uk/News/NewsDetail.aspx?fdArticleId=3
4.  e-Learning for Healthcare, “What is e-Learning for Healthcare?”, Department of Health in partnership with Professional Bodies and the NHS,
http://www.e-lfh.org.uk/MeetTheTeam.aspx
5.  e-Learning of Public Health Pharmacology, archives.who.int/icium/icium2004/resources/ ppt/AC032.ppt
6.  Sh. Muja, F. Bekteshi, Kadriu, I. Lecaj, M. Reinicke and R. Latifi, “e-Learning and e-Health Education at the Telemedicine Program of Kosovo”,
http://www.mrc.ac.za/conference/ satelemedicine/Muja.pdf
7.  โพสต์ศาสตร์ RMUTL CLUB, “มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีกี่แห่ง”,
http://www.rmutlclub.com/ forum/edu-news/t10399/
8. อนันต์ สกุลกิม, "อนาคตมหาวิทยาลัยของไทย" จะไปทางไหนดี”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,
http://www.dekrukdee.net/edu_news/news_detail.php?News_ID=444
9.   The Royal College of Surgeons of England, “e-Learning for Healthcare – Clinical Lead for Surgery”
10.  ศ.ดร.ศรีศักดิ์  จามรมาน, “อีเลินนิ่ง (e-Learning)”,http://www.thaiall.com/e-Learning
11. อรณี แผ้วสะอาด, “Telemedicine Technology for Medical Diagnosis and Patient Care”, ไฟฟ้าสาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
e-Learning,การศึกษา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 05 เมษายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 1101 e-Learning /article-technology/item/1101-461
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์
Hits ฮิต (14260)
ให้คะแนน
มุมมองเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ของคนทั่วไปเป็นภาพจินตนาการที่ฉายให้เห็นถึงความฉลาดล้ำของสิ่งประดิษฐ์ที ...
คอมพิวเตอร์โอลิมปิก ประเทศไทย
คอมพิวเตอร์โอลิมปิก ประเทศไทย
Hits ฮิต (19224)
ให้คะแนน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ...
ข้อเท็จจริงที่ไม่จริงเสมอไป
ข้อเท็จจริงที่ไม่จริงเสมอไป
Hits ฮิต (3519)
ให้คะแนน
นักเรียนได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์หลายประการในชั่วโมงเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ข้อมูลเหล่านั้น ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินดินดาน (shale)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเรื่องการคูณ...
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ...
  • หินไนส์ (gneiss)...
  • คณิตศาสตร์วิถีเอเชีย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)