logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ทำไมเส้นเลือดจึงดูเป็นสีฟ้าทั้งที่เลือดเป็นสีแดง?

ทำไมเส้นเลือดจึงดูเป็นสีฟ้าทั้งที่เลือดเป็นสีแดง?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 02 สิงหาคม 2561
Hits
2615

 

          เลือดมีสีแดง และเส้นเลือดดำก็มีสีแดงเช่นกัน แต่ทำไมเราถึงมองเห็นเส้นเลือดดำเป็นสีน้ำเงินเมื่อเรามองผ่านผิวหนังของตัวเอง? คำตอบของคำถามนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการทั้งการรับรู้สีของดวงตา แสงที่ตกกระทบ และส่วนประกอบของเลือด

7933 1

ภาพที่ 1 การมองเห็นเส้นเลือดผ่านผิวหนัง
ที่มา https://pixabay.com ,Mishelved

          แสงคือ การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟน้ำเงินที่อยู่ในช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟน้ำเงินที่สามารถมองเห็นได้ โดยแสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา (Visible light) จะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-700 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อแสงขาวจากแหล่งกำเนิดแสงเดินทางผ่านตัวกลางจะเกิดการหักเหและกระจายออกเป็นแถบสีต่าง ๆ ตามความยาวคลื่นของแสง โดยแสงสีที่มีความยาวคลื่นสั้นจะเกิดการหักเหของแสงได้มากกว่าแสงที่มีความยาว เช่น สีม่วงจะมีความยาวคลื่น 400 นาโมเมตรมีการหักเหผ่านตัวกลางได้มากกว่าแสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 700 นาโนเมตร

7933 2

ภาพที่ 2 สเปกตรัมของแสง
ที่มา http://www.scimath.org/article-physics/item/7744-2017-12-04-04-50-47

          มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้จากการที่แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ดวงตา เช่นเดียวกับแสงที่กระทบผิวของเรา แสงเหล่านั้นเป็นแสงสีขาวซึ่งเป็นส่วนผสมของแสงสีทุกสีที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน แต่เพื่ออธิบายถึงเหตุผลที่มองเห็นเส้นเลือดดำเป็นสีน้ำเงินเมื่อมองเห็นผ่านผิวหนัง จึงจำเป็นต้องเน้นถึงความสำคัญของแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินบนแถบสเปกตรัม

         จากคุณสมบัติการหักเหของแสงตามความยาวคลื่นทำให้ทราบว่า แสงสีแดงเป็นแสงที่ความยาวคลื่นยาวจึงมีการหักเหผ่านตัวกลางได้น้อยและเดินทางทะลุผ่านตัวกลางได้ดี โดยแสงสีแดงสามารถเดินทางผ่านผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกายได้ลึกถึง 5-10 มิลลิเมตรใต้ชั้นผิวหนังที่มีเส้นเลือดดำจำนวนมาก เมื่อแสงเดินทางผ่านชั้นผิวหนังไปยังเส้นเลือดเหล่านั้น แสงสีแดงจะถูกดูดกลืนไว้โดยฮีโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือด ข้อมูลนี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการฉายแสงสีแดงผ่านแขนของตัวเอง คุณจะมองเห็นมองเห็นแสงสีแดงบางส่วนสะท้อนกลับออกมา และมองเห็นเส้นเลือดดำเป็นสีเข้ม นั่นเป็นเพราะฮีโมโกลบินดูดกลืนแสงสีแดงไว้ อย่างไรก็ดีวิธีการนี้ถูกนำมาใช้จริงในการรักษาพยาบาล โดยใช้เพื่อช่วยงานบุคคลากรทางการแพทย์ในการตรวจหาเส้นเลือด  ลองดูคลิปแสดงการฉายแสงสีแดงผ่านผิวหนัง  (https://www.youtube.com/watch?v=NS68ePykav0)

          ขณะเดียวกัน แสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น มีพลังงานสูง และเกิดการหักเหของแสงได้ดีกว่าแสงสีแดง ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้แสงสีน้ำเงินทะลุผ่านผิวหนังได้น้อยและสะท้อนกลับมากกว่าแสงสีอื่น ๆ เมื่อแสงตกกระทบผิวหนัง ส่งผลให้ฮีโมโกลบินในเลือดดูดกลืนแสงสีน้ำเงินได้น้อยลง เช่นเดียวกับการทดลองที่แนะนำก่อนหน้า เมื่อทดสอบฉายแสงสีน้ำเงินลงบนผิวหนังก็จะเห็นเป็นเพียงผิวหนังสีน้ำเงินและมองเห็นเส้นเลือดได้ยาก ซึ่งหลักการดังกล่าวยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันการใช้สารเสพติดด้วยวิธีการฉีดสารเข้าเส้นเลือดด้วย

7933 4

ภาพที่ 3 การใช้แสงสีน้ำเงินในห้องน้ำเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดด้วยวิธีการฉีดสารเข้าเส้นเลือด
เนื่องด้วยจะทำให้ผู้เสพมองเห็นเส้นเลือดได้ยากขึ้น
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tampere_station_WC.jpg

         ผิวหนังของมนุษย์ไม่ได้ดูดกลืนแสงในแต่ละความยาวคลื่นได้ดีมากนัก นั่นทำให้มองเห็นสีผิวเป็นสีขาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการการสร้างเม็ดสีเมลานินในแต่ละคนด้วย ในทางกลับกันฮีโมโกลบินในเลือดสามารถดูดกลืนแสงได้ทุกความยาวคลื่น แต่จะดูดกลืนแสงสีแดงได้น้อยกว่าแสงสีอื่น ๆ เล็กน้อยนั่นจึงทำให้เรามองเห็นเลือดเป็นสีแดง

         หากลองจินตนาการถึงการที่แสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินตกกระทบลงมาบนผิวหนังพร้อมกันในรูปของแสงขาว เราจะมองเห็นส่วนผสมของแสงสีต่าง ๆ ทั้งแสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีอื่น ๆ สะท้อนกลับมายังดวงตาในระดับที่แตกต่างกัน โดยแสงสีแดงและแสงสีโทนร้อนบนแถบสเปกตรัมจะทะลุผ่านผิวหนังและถูกดูดกลืนแสงไว้ด้วยฮีโมโกลบินในเลือด ในขณะที่แสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น จะมีการหักเหได้ดีกว่าแสงสีอื่น ๆ จึงสะท้อนกลับมากกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เส้นเลือดดำปรากฏให้เห็นผ่านผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเมื่อเปรียบเทียบกับสีผิวโดยรอบ ทั้งนี้เส้นเลือดสีน้ำเงินมักจะมองเห็นได้ง่ายในผู้ที่มีสีผิวขาวซีด

         นอกจากนี้แสงสีบนแถบสเปกตรัมที่ปรากฏออกมายังมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความลึกของเส้นเลือดใต้ชั้นผิวหนังและความหนาของเส้นเลือดด้วย โดยเส้นเลือดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแคบและอยู่ใกล้ผิวหนัง เช่น Capillary bed เป็นต้น ฮีโมโกลบินในเลือดจะดูดกลืนแสงทุกความยาวคลื่น รวมทั้งแสงสีน้ำเงิน แต่ดูดกลืนแสงสีแดงได้น้อยกว่า ดังนั้นสัดส่วนของแสงสีแดงที่สะท้อนกลับมายังดวงตาจะมากกว่าแสงสีน้ำเงิน จึงทำให้มองเห็นเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังเป็นสีแดง อย่างไรก็ตามหากเส้นเลือดดำอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนังเล็กน้อยประมาณ 0.5 มิลลิเมตร แสงสีน้ำเงินจะถูกดูดกลืนได้น้อยกว่า เนื่องจากไม่สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังได้ดีเท่าแสงสีแดง ในกรณีเช่นนี้จะมองเห็นเส้นเลือดดำเป็นสีน้ำเงินมากกว่าแสงสีแดง หรืออาจมองเห็นเส้นเลือดมีสีเขียวอมน้ำเงิน

7933 6

ภาพที่ 4 สีของเส้นเลือดที่มองผ่านผิวหนัง
ที่มา https://pixabay.com ,Geartringen

       บทความนี้เป็นคำตอบของคำถาม I've always wondered why our veins are blue, when blood is red? - Alexandra, 28, Melbourne  ซึ่งถูกส่งมายังทีมงานของ The Conversation แหล่งข่าวอิสระที่นำเสนอมุมมองของนักวิชาการและความรู้ในด้านต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ ดังนั้นหากคุณเป็นหนึ่งคนที่เกิดข้อสงสัย เป็นเรื่องที่ดีที่จะตั้งคำถามและหาคำตอบให้กับตัวเอง

แหล่งที่มา

Alwin K., Lothar L., Vitkin, I.A., Michael S. P., Brian C. W., Raimund H., et al. Why do veins appear blue? A new look at an old question. Applied Optics. 1996. 35(7); 1151-1160.

David Irving. (2018, 16 January). I’ve always wondered: why do our veins look blue when our blood is red?
       Retrieved March 1, 2018,
       from https://theconversation.com/ive-always-wondered-why-do-our-veins-look-blue-when-our-blood-is-red-83143

If Blood Is Red, Why Do Veins Look Blue?
       Retrieved March 1, 2018,
       from https://www.scienceabc.com/humans/if-blood-is-red-why-do-veins-look-blue.html

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การหักเหของแสง, เส้นเลือด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 10 เมษายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7933 ทำไมเส้นเลือดจึงดูเป็นสีฟ้าทั้งที่เลือดเป็นสีแดง? /article-physics/item/7933-2018-03-19-04-06-57
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป ตอนที่ 28..การกำหนดที่ถูกต้องของหลักกา ...
ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป ตอนที่ 28..การกำหน...
Hits ฮิต (35672)
ให้คะแนน
ระบบพิกัดแบบเกาส์จะต้องแทนที่ตัววัตถุอ้างอิง ซึ่ง“ระบบพิกัดระบบเกาส์ทั้งมวลโดยหลักการเหมือนกันสำหรั ...
สนาม ตอนที่ 2-เสาหลักสองเสาของทฤษฏีเชิงสนาม
สนาม ตอนที่ 2-เสาหลักสองเสาของทฤษฏีเชิงส...
Hits ฮิต (18664)
ให้คะแนน
สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า ถ้าเราสับเปลี่ยนคำว่า แม่เหล็ก และ ไฟฟ้า ...
The Solar Road : ถนนพลังงานแสงอาทิตย์
The Solar Road : ถนนพลังงานแสงอาทิตย์
Hits ฮิต (8717)
ให้คะแนน
The Solar Road : ถนนพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อพูดถึงปีที่ผ่านมาหรือปี 2015 มีข่าวๆหนึ่งที่ถูกพาดพิงเป็ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)