logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 15 พฤศจิกายน 2560
Hits
5148

 

          เสียงประกาศความปลอดภัยบนเครื่องบิน เป็นสิ่งที่ผู้โดยสารทุกคนจะต้องได้ยินทุกครั้งสำหรับการโดยสารด้วยเครื่องบินในทุกสายการบิน

“ท่านผู้โดยสารคะ ต่อไปนี้พนักงานต้อนรับจะสาธิตวิธีการใช้หน้ากากออกซิเจน ความดันอากาศในเครื่องบินนี้ ได้ถูกปรับไว้อย่างเหมาะสมแล้ว แต่หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น หน้ากากออกซิเจนจะหล่นลงมาโดยอัตโนมัติ สวมหน้ากากครอบปากและจมูกของท่าน ดึงสายรัดให้แน่น และหายใจตามปกติค่ะ …”

เสียงอันไพเราะและฟังง่ายของแอร์โฮสเตสทำให้เราเข้าใจได้ไม่ยาก เว้นเสียแต่ว่าเราจะไม่ได้ใส่ใจคำแนะนำเหล่านั้น  ซ้ำยังต้องปฏิบัติจริงในสถานการณ์ที่มีความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็วที่ความสูงกว่า 30,000 ฟุต

7567 1

ภาพที่ 1 การโดยสารโดยเครื่องบิน
ที่มา Omar Prestwich/unsplash

          ความดันอากาศที่ลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่คาดคิดในสภาพแวดล้อมปิดเช่นบนเครื่องบินนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หากประตูเครื่องบินถูกเปิดออกในระหว่างเที่ยวบินหรือการที่หน้าต่างเครื่องบินถูกทำลายจนเสียหาย  ซึ่งหลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์โจรกรรมเครื่องบินอย่างในภาพยนตร์  แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วความดันอากาศที่ลดลงอย่างไม่สามารถควบคุมได้นี้อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องด้วยความไม่ความสมบูรณ์ของโครงสร้างของเครื่องบินหรือการซ่อมแซมที่ไม่ดีพอ

          หากว่าประตูเครื่องบินถูกเปิดออกในระหว่างเที่ยวบินขึ้นมาจริงๆ  ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้บริเวณประตูจะถูกขับออกนอกตัวเครื่องบิน  อุณหภูมิในห้องโดยสารจะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงในระดับที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสภาวะฟรอสไบท์ (Frostbite) หรืออาการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลายจากอุณหภูมิที่เย็นจัดได้ ซึ่งจะเริ่มที่อาการแสบระคายเคืองที่ผิวหนัง จากนั้นผิวสีแดงจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดร่วมกับการมีแผลพอง ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ จนในที่สุดเนื้อเยื่อจะตายจากการถูกทำลายเนื้อเยื่อในทุกชั้นผิว

7567 2

ภาพที่ 2 ลักษณะของผลกระทบจากอุณหภูมิที่ลดลงต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อในร่างกาย
ที่มา The Mayo Clinic

          ในระหว่างที่ความดันอากาศลดลง  ส่วนใหญ่แล้วคนเราจะยังพอมีสติอยู่ในระหว่าง 15 – 20 วินาที อาจฟังดูเป็นเวลาที่มากพอจะดึงหน้ากากออกซิเจนมาใช้ และจัดการหน้ากากออกซิเจนนั้นให้กับเด็กที่นั่งอยู่ด้านข้าง แต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เวลาที่มีอาจไม่เพียงพอที่จะตั้งสติได้

          ช่วงเวลาที่ต้องอยู่ภายในห้องโดยสารที่มีความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ลิ้นถูกกลืนลงไปอยู่ในลำคอภายในเวลาไม่กี่วินาที
มีอาการปวดหูอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการเสียวฟันที่สุดแสนจะทรมาน ซึ่งหากคุณไม่สามารถออกจากสถานการณ์ตรงนั้นได้  ความเสี่ยงต่อมาที่จะต้องเผชิญก็คือ การขาดออกซิเจน (Hypoxia)  ร่างกายที่ขาดออกซิเจนจะนำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะ หมดสติ มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง และเสียชีวิตในที่สุด นี่จึงเป็นเหตุผลที่หน้ากากออกซิเจนหล่นลงมาตรงหน้าของคุณอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสิ่งสำคัญก็คือผู้โดยสารจะต้องใช้มันจนกว่านักบินจะสามารถพาเครื่องบินไปอยู่ในเพดานบินที่ทุกคนบนเครื่องจะสามารถหายใจเองได้

          แต่ผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการยานพาหนะชนิดนี้บ่อยๆ ไม่ต้องกังวลใจจนเกินไป  เนื่องด้วยเหตุผลของความแตกต่างของแรงดันอากาศระหว่างภายนอกและภายในห้องโดยสาร ไม่มีทางที่แรงของร่างกายมนุษย์ธรรมดาจะสามารถเปิดประตูเครื่องบินได้กลางเที่ยวบิน  สำหรับหน้าต่างเครื่องบินด้วยเช่นกัน  ได้รับการออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงกดดันจากภายนอก แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแตกออกจากการทุบทำลายของมนุษย์ เว้นเสียแต่ว่าจะถูกทำลายด้วยอาวุธที่ร้ายแรงเช่นสถานการณ์ควานรุนแรงบนเครื่องบินที่เห็นกันในภาพยนตร์

แหล่งที่มา

Here's what would happen if someone opened the door on a plane mid-flight.  สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
           http://www.independent.co.uk/news/science/open-plane-door-mid-flight-a7866616.html

What happens when a plane loses cabin pressure?.  สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
           http://www.telegraph.co.uk/travel/travel-truths/what-happens-when-a-plane-loses-cabin-pressure/

Frostbite symptoms. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2560. จาก
          http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/frostbite/basics/symptoms/con-20034608

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7567 สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูเครื่องบินในระหว่างเที่ยวบิน /article-physics/item/7567-2017-10-17-01-38-08
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ ตอนที่ 11 ..การแปลงแบบโลเร็นตซ์
ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ ตอนที่ 11 ..การแปล...
Hits ฮิต (62502)
ให้คะแนน
ผลลัพธ์ของสามตอนสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าความเข้ากันไม่ได้ที่ปรากฏชัดของกฎของการแพร่กระจายของแสงกับหลัก ...
จุดเริ่มต้นของทัศนะเชิงกล ตอนที่ 10 - ทฤษฎีจลน์ของวัตถุ
จุดเริ่มต้นของทัศนะเชิงกล ตอนที่ 10 - ทฤ...
Hits ฮิต (33653)
ให้คะแนน
ในของเหลวถูกแสดงเป็นครั้งแรกโดยสิ่งที่เรียกกันว่า การเคลื่อนที่แบบบราวน์ ในปัจจุบันนี้นักนาโนเทคโนโ ...
กลศาสตร์และความพยายามที่จะอิงฟิสิกส์ทั้งหมดไว้กับมัน ตอนที่  ...
กลศาสตร์และความพยายามที่จะอิงฟิสิกส์ทั้ง...
Hits ฮิต (32289)
ให้คะแนน
จากกลศาสตร์และความพยายามที่จะอิงฟิสิกส์ทั้งหมดไว้กับมัน ตอนที่แล้วมาดูข้อสรุปกัน
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)