logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • เฮอร์ริเคนกับฟิสิกส์

เฮอร์ริเคนกับฟิสิกส์

โดย :
ดร.ปรีดา พัชรมณีปกรณ์
เมื่อ :
วันพุธ, 13 กันยายน 2560
Hits
8096

คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่าในช่วงสัปดาห์ผ่านมา พายุเฮอร์ริเคนที่มีชื่อว่าเออร์มา ซึ่งก่อตัวในทะเลแคริบเบียน ได้พัดเข้าถล่มประเทศคิวบาและกำลังเข้าสู่รัฐฟลอริดาประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 2.9 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นวาตภัยที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา

hurricane1

ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-16 ของพายุเฮอร์ริเคนเออร์มา ขณะเคลื่อนจากทะเลแคริบเบียน ณ วันที่ 8 กันยายน 2560 เวลา 4:17 น.
ที่มาของภาพ : Cooperative Institute for Research in the Atmosphere (CIRA)

 

ความรุนแรงของพายุนั้นจะขึ้นอยู่ความเร็วลม โดยพายุเฮอร์ริเคนเออร์มามีความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 298 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับความเร็วสูงของรถไฟความเร็วสูงของประเทศอังกฤษและอิตาลีเลยทีเดียว เฮอร์ริเคนเออร์มาจึงถูกจัดอยู่ในพายุที่มีความรุนแรงระดับ 5 ตามเกณฑ์ของ Saffir–Simpson Hurricane Scale (SSHS) ซึ่งถือว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงระดับสูงสุดและเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก

 

ปัจจัยสำคัญในกำหนดความเร็วลมของพายุคือ อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลหรือมหาสมุทร (To) และ อุณหภูมิที่ระดับสูงสุดของเมฆหรือที่เรียกว่าอุณหภูมิยอดเมฆ (Ta) โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดพายุเฮอร์ริเคน อุณหภูมิที่ผิวทะเลจะสูงกว่าอุณหภูมิยอดเมฆ โดยพายุสามารถเปรียบได้กับ “เครื่องยนต์ความร้อน” (heat engine) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะดึงความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า (บริเวณผิวน้ำทะเล) และเปลี่ยนพลังงานความร้อนบางส่วนเป็นพลังงานจลน์มากขึ้นทำให้เกิดเป็นพายุหมุนที่มีความเร็วลมมากขึ้น และถ่ายโอนความร้อนไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (บริเวณยอดเมฆ) แต่อย่างไรก็ตามพายุจะเสียพลังงานบางส่วนไปเนื่องจากแรงเสียดทานกับมวลอากาศโดยรอบ เปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์ใบพัดขนาดยักษ์ที่มีทะเลเป็นแหล่งเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ยักษ์นี้ที่มีการเสียดสีกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

 

hurricane 2

ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-16 ของศูนย์กลางพายุเฮอร์ริเคนเออร์มา ณ วันที่ 8 กันยายน 2560 สามารถรับชมภาพเคลื่อนไหวได้ที่ 
http://rammb.cira.colostate.edu/ramsdis/online/loop.asp?data_folder=loop_of_the_day/goes-16/20170908000000&number_of_images_to_display=200&loop_speed_ms=50 

ที่มาของภาพ : Cooperative Institute for Research in the Atmosphere (CIRA)

 

หลังจากการขับเขี้ยวอันเกรี้ยวกราดระหว่างพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนพลังงานความร้อนจากน้ำทะเลกับการสูญเสียพลังงานจากแรงเสียดทาน พายุจะเข้าสู่จุดสมดุลคือมีการรับและสูญเสียพลังงานในอัตราที่เท่ากัน และพายุจะมีความเร็วลมสูงสุด (Vmax) ตามความสัมพันธ์

vmax

 

จะเห็นได้ว่าความเร็วลมสูงสุดของพายุนั้นขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลและอุณหภูมิยอดเมฆ โดยปกติแล้วอุณหภูมิยอดเมฆจะอยู่ที่ประมาณ -73 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลที่ต่ำที่สุดในการทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนได้อยู่ที่ประมาณ 27.8 องศาเซลเซียส และจากข้อมูลพบว่าขณะที่พายุเฮอร์ริเคนเออร์มากำลังก่อตัว อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จึงทำให้พายุเฮอร์ริเคนเออร์มามีความเร็วลมมากกว่าพายุเฮอร์ริเคนทั่วไป

 

แหล่งอ้างอิง

  1. Physics Today. “How Strong can a hurricane get?, DOI:10.1063/PT.6.1.20170908a. 8 Sep. 2017
  2. Emanuel, K., 2017: A fast intensity simulator for tropical cyclone risk analysis. Nat. Hazards, DOI 10.1007/s11069-017-2890-7.
  3. https://www.accuweather.com 
  4. www.cira.colostate.edu
  5. https://earthobservatory.nasa.gov
  6. http://www.unl.edu/physics/ 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เฮอร์ริเคนกับฟิสิกส์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
ดร.ปรีดา พัชรมณีปกรณ์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
  • 7478 เฮอร์ริเคนกับฟิสิกส์ /article-physics/item/7478-2017-09-13-07-57-58
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ทฤษฏีบทเกี่ยวกับการบวกของความเร็วกับการทดลองของฟีโซ
ทฤษฏีบทเกี่ยวกับการบวกของความเร็วกับการท...
Hits ฮิต (7424)
ให้คะแนน
ตอนนี้ในทางปฏิบัติ เราสามารถเคลื่อนนาฬิกาและไม้วัดได้ ด้วยความเร็วที่น้อยถ้าเทียบกับความเร็วของแสงเ ...
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ระบบแห่งอนาคต
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ระบบแ...
Hits ฮิต (10621)
ให้คะแนน
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) เราคงเคยได้อ่านตามข่าว หรือฟังตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการขาดแ ...
แสง ปะทะ เสียง ! ศึกประชันความเร็วของคลื่น จากปรากฏการณ์ฟ้าผ ...
แสง ปะทะ เสียง ! ศึกประชันความเร็วของคล...
Hits ฮิต (5857)
ให้คะแนน
แสง ปะทะ เสียง ! ศึกประชันความเร็วของคลื่น จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า (ตอนจบ) จากบทความ “แสง ปะทะ เสียง ! ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)