logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • "กิ้งกือ" สัตว์ตัวจิ๋วแสนอันตราย

"กิ้งกือ" สัตว์ตัวจิ๋วแสนอันตราย

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 01 สิงหาคม 2561
Hits
5707

           “สวยซ่อนคม” เป็นประโยคที่อาจใช้อธิบายถึงความอันตรายของกิ้งกือสีสันสดใสที่ถูกค้นพบใหม่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน เนื่องด้วยรูปแบบที่โดดเด่นและมีความหลากหลายมากกว่ากิ้งกือชนิดอื่น ๆ ที่เคยพบมาก่อนหน้านั้นเป็นทั้งแรงดึงดูดและคำเตือนสำหรับนักล่าในห่วงโซ่อาหาร

7932 5

ภาพที่ 1 กิ้งกือ
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,ROverhate

          สิ่งมีชีวิตหลายขาที่เรียกว่า Apheloria polychrome นั้นเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของกิ้งกือที่เพิ่งถูกค้นพบในพื้นป่าของเทือกเขาคัมเบอร์แลนด์ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐเวสเวอร์จิเนีย โดยพบลำตัวมีเปลือกแข็งสีดำหุ้มอยู่ภายนอก มีจุดสีที่แตกต่างกัน ส่วนขามีสีแดงหรือสีเหลือง ซึ่งในส่วนของเปลือกหุ้มที่มีลวดลายหลากหลายจะถูกเคลือบไว้ด้วยสารไซยาไนด์ (Cyanide) ที่เป็นพิษ ทั้งนี้เกิดจากกลไกการป้องกันตัวที่พบได้ทั่วไปในกิ้งกือและสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่จะมีการหลั่งของสารเคมีอย่างเช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) หรือเบนซิลไซยาไนด์ (Benzoyl cyanide) เมื่อพวกมันรู้สึกถึงภัยคุกคามและถูกรบกวน นอกจากนี้กิ้งกือยังปล่อยสารเคมีอื่น ๆ เช่น เมนดีโลไนไตรล์เบนโซเอต (Mandelonitrile benzoate) และเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ที่เป็นทั้งสารพิษในการป้องกันตัวและเป็นยาปฏิชีวนะในบางครั้ง

          กิ้งกือจะใช้อาวุธเคมีของพวกมันแตกต่างกัน บางตัวจะค่อย ๆ ปล่อยสารออกมาจากต่อมชนิดพิเศษ ในขณะที่บางตัวจะม้วนตัวเพื่อบีบสารพิษออกมา หรือพ่นสารไปยังผู้ล่าโดยตรง ทั้งนี้ตัวของพวกมันเองจะไม่ได้รับอันตรายเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่อสารพิษที่ผลิตขึ้นเอง และนั่นจึงเป็นความพิเศษที่ทำให้กิ้งกือแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ยิ่งกว่านั้นกิ้งกือชนิดนี้ยังมีรูปแบบของสีสันที่พวกมันใช้หลบเลี่ยงต่อนักล่าอย่างน้อย 6 รูปแบบที่แตกต่างกันอาทิ มีลำตัวสีดำ มีจุดแต้มตามลำตัวสีเหลือง ขาสีเหลือง หรือมีลำตัวสีดำ จุดแต้มสีขาว และมีขาสีแดง เป็นต้น

7932 2

ภาพที่ 2 กิ้งกือสายพันธุ์ Apheloria polychrome ที่มีรูปแบบสีสันแตกต่างกัน 6 รูปแบบ
ที่มา https://sciencebriefss.com/life-news/the-most-colorful-millipede-specie-has-just-been-discovered

         กิ้งกือ A. polychrome หรือได้รับการขนานนามว่าเป็น "Colorful Cherry Millipede” โดยในส่วนเชอร์รี่นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสีสัน แต่หมายถึงกลิ่นของเบนซาลดีไฮด์จากเบนซาลดีไฮด์ ไซยาโนไฮดริน (benzaldehyde cyanohydrin) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่สังเคราะห์ขึ้นและเก็บไว้ในต่อมพิเศษ เมื่อพวกมันรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามมัน มันจะหลั่ง cyanohydrins ออกมาจากต่อมพิเศษ และแตกตัวโดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งเพื่อสร้าง Hydrogen cyanide (HCN) และปล่อยแก๊สนั้นออกสู่สภาพแวดล้อมในทันทีเพื่อป้องกันตัวเองจากนักล่าทั้งหลายที่เข้าใกล้มัน

7932 3

ภาพที่ 3 ภาพแสดงการแตกตัวของ Benzaldehyde cyanohydrin
ที่มา พรรณพร

        ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) เป็นแก็สไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และเป็นพิษ ซึ่งสามารถดูดซึมได้ดีผ่านการหายใจและการสัมผัส ก่อให้เกิดผลกระทบแตกต่างกันตามปริมาณที่ได้รับตั้งแต่มีอาการไอ มีเสมหะ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ระคายเคืองตา หายใจไม่ออก กระทั่งสูญเสียการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

       นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังพบกิ้งกือสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีการปรับตัวให้มีลวดลายและสีสันที่สะดุดตาเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากผู้ล่าได้เช่นเดียวกับสายพันธุ์ที่พบ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Müllerian mimicry ซึ่งเป็นหนึ่งในวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดจากสัตว์สองชนิดหรือมากกว่าที่ทั้งมีและไม่ได้มีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดหรือเกี่ยวข้องกัน โดยสัตว์ชนิดหนึ่งมีการปรับตัวเลียนแบบสิ่งมีชีวิตที่เป็นแม่แบบเพื่อประโยชน์ในเรื่องการป้องกันตัวเองจากนักล่า   อย่างไรก็ดีหากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธในการป้องกันตัวสามารถปรับตัวเลียนแบบได้ จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายมากกว่า

7932 4

ภาพที่ 4 ภาพด้านซ้ายคือผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา (Danaus chrysippus) และภาพด้านขวาคือผีเสื้อหนอนข้าวสารลายเสือ (Danaus genutia) เป็นตัวอย่างการปรับตัวเลียนแบบที่เรียกว่า Müllerian mimicry
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Mullerian_mimicry

         แม้ว่าลวดลายหรือสีสันดังกล่าวจะสามารถป้องกันอันตรายที่มาถึงตัวได้ แต่ก็ดูเหมือนว่าประโยชน์นั้นจะเป็นประโยชน์ในทางเดียว ที่อาจใช้ได้ผลกับสัตว์ชนิดเดิม ทั้งนี้การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดก็ทำให้นักล่าสามารถจดจำรูปแบบและหลีกเลี่ยงอันตรายได้มากขึ้นเช่นกัน

        กิ้งกือสายพันธุ์ A. polychrome ถูกค้นพบโดย Paul Marek นักวิจัยจากสถาบันโพลีเทคนิคและมหาวิทยาลัยรัฐเวอร์จิเนีย ผู้ซึ่งเคยค้นพบกิ้งกือที่มีขามากที่สุดเท่าที่เคยพบมาก่อนหน้า และเป็นผู้ที่พยายามค้นหาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาจสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ก่อนที่จะได้รับการระบุตัวตน เขากล่าวว่า “มันเป็นความจำเป็นที่ต้องอธิบายและจัดหมวดหมู่สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ทราบถึงบทบาทของพวกมันในระบบนิเวศ รวมทั้งผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อตัวพวกมันด้วย”

        กิ้งกืออาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำให้ใครคนรู้สึกกลัวหรือขยะแขยง แต่บทบาทของกิ้งกือในธรรมชาตินั้นมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศมาอย่างยาวนาน ด้วยการเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยย่อยสลายและกินเศษซากพืช ใบไม้ และถ่ายออกมาเป็นมูลสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน รวมทั้งยังเป็นอาหารให้แก่เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และพืชต่างๆ

แหล่งที่มา

Paul E. M, Jackson C. M and Derek A. H. Apheloria polychroma, a new species of millipede from the Cumberland

Mountains (Polydesmida: Xystodesmidae). Zootaxa. 4375 (3): 409–425.

Michelle Starr. (2018, 29 January). This Insanely Colourful Millipede Can Kill 18 Adult Birds.
        Retrieved February 24, 2018,
        from https://www.sciencealert.com/most-colourful-millipede-kill-bird-cyanide-defence

Addition of carbon nucleophiles.
        Retrieved February 24, 2018,
        from https://www.britannica.com/science/aldehyde/Addition-of-carbon-nucleophiles#ref998514

Medical Management Guidelines for Hydrogen Cyanide (HCN).
        Retrieved February 24, 2018,
        from https://www.atsdr.cdc.gov/MMG/MMG.asp?id=1141&tid=249

การพรางตัว (Camouflage). สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561. จาก
         http://www1a.biotec.or.th/BRT/images/stories/camouflage.pdf

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กิ้งกือ,สัตว์,อันตราย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 10 เมษายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7932 "กิ้งกือ" สัตว์ตัวจิ๋วแสนอันตราย /article-biology/item/7932-2018-03-19-04-05-13
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
การเลือกบริโภคน้ำมันพืชให้ปลอดภัย
การเลือกบริโภคน้ำมันพืชให้ปลอดภัย
Hits ฮิต (8553)
ให้คะแนน
การเลือกบริโภคน้ำมันพืชให้ปลอดภัย เมื่อพุดถึงน้ำมันพืชที่เราใช้ในการประกอบอาหารเพื่อบริโภคหลายคนรู้ ...
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
Hits ฮิต (8264)
ให้คะแนน
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดย นายธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต้นปี พ.ศ ...
ไฟไหม้ใต้ดิน
ไฟไหม้ใต้ดิน
Hits ฮิต (8305)
ให้คะแนน
ไฟไหม้ใต้ดิน น่าสงสัยจริงๆ ไฟอะไรไปไหม้อยู่ใต้ดิน สุนทร ตรีนันทวัน เราคงจะเคยทราบข่าวกันอยู่บ่อย ๆ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินดินดาน (shale)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเรื่องการคูณ...
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ...
  • หินไนส์ (gneiss)...
  • คณิตศาสตร์วิถีเอเชีย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)