logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • เซลล์ประสาทและการรับส่งกระแสประสาท

เซลล์ประสาทและการรับส่งกระแสประสาท

โดย :
รศ.ดร.ไพศาล สิทธิกรกุล
เมื่อ :
วันศุกร์, 04 มิถุนายน 2553
Hits
8079

เซลล์ประสาทและการรับส่งกระแสประสาท

รศ.ดร.ไพศาล สิทธิกรกุล

    ลักษณะของเซลล์ประสาททั่วไป ประกอบด้วยตัวเซลล์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของนิวเคลียส ออร์แกเนลและองค์ประกอบของเซลล์ต่างๆ เช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆ แต่เซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะมีแขนงยื่นออกจากตัวเซลล์ ซึ่งมีลักษณะและการทำงานต่างกัน 2 ประเภท คือ 

    1. แอกซอน (Axon) เซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะมีแอกซอนยาวยื่นออกจากเซลล์เพียงเส้นเดียว โดยอาจมีการแตกแขนงบ้างระหว่างสายหรือที่ปลายสายแอกซอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแอกซอน ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดความยาว แอกซอนทำหน้าที่นำสัญญาณประสาทจากตัวเซลล์เดินทางไปยังเซลล์เป้าหมาย เนื่องจากเซลล์ประสาทส่วนใหญ่มีแอกซอนยาวมาก อาจยาวมากกว่า 1 เมตร เช่น motor neuron ในไขสันหลังที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณมือและเท้า การส่งสัญญาณประสาทของแอกซอนจะอยู่ในรูป action potential และสายแอกซอนมักมีเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) หุ้มเป็นการเพิ่มความเร็วในการเดินทางของ action potential การเกิด action potential เริ่มต้นที่บริเวณโคนแอกซอน (axon hillock) ซึ่งเกิดจากกระบวนการรวบรวมสัญญาณ depolarization จากเมมเบรนบริเวณตัวเซลล์และแขนงต่างๆ ของเดนไดรต์ 

    2. เดนไดรต์ (Dendrite) เป็นแขนงยื่นออกจากตัวเซลล์ เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวเซลล์ประสาทเพื่อทำหน้าที่รับสัญญาณจากเซลล์อื่นๆ ผ่านทางไซแนปส์ (Synapse) และนำสัญญาณเข้าสู่ตัวเซลล์ผ่านไปยัง axon hillock และชักนำให้เกิด action potential โดยทั่วไปเดนไดรต์มักเป็นแขนงสั้นๆ แตกแขนง และอาจมีการแตกแขนงปลายเรียวเล็กลง จำนวนแขนงของเดนไดรต์บ่งชี้ถึงจำนวนไซแนปส์ จากเซลล์ประสาทอื่นๆ เช่น กรณีของ Purkinje cell ในสมองส่วน cerebellum และ pyramidal cell ในสมองส่วน cerebrum มีแขนงของเดรนไดรต์ยื่นออกมาจากเซลล์มากมายเพื่อรับไซแนปซ์จำนวนหลายพันจุด ในกรณีของ motor neuron ในไขสันหลังมีแขนงของเดนไดรต์จำนวนมากเช่นกัน จึงเรียกเซลล์ประสาทเหล่านี้ว่า multipolar neuron เนื่องจากมีแขนงยื่นออกจากเซลล์จำนวนมาก สำหรับกรณีที่เซลล์ประสาทรับไซแนปส์จำนวนไม่มาก อาจมีเดนไดรต์ยื่นออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เช่น bipolar neuron ในชั้น retina หรืออาจไม่มีเดนไดรต์ออกจากตัวเซลล์เลย ได้แก่ เซลล์ประสาทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในกรณีนี้เรียกว่า unipolar neuron เนื่องจากมีแขนงยื่นออกจากตัวเซลล์เพียงเส้นเดียว 

   แขนงของเซลล์ประสาทบางชนิดอาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนในการเรียกชื่อ เช่น ในกรณีของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) ซึ่งรับความรู้สึกจากตัวรับชนิดต่างๆ จากบริเวณผิวหนัง โดยตัวเซลล์ประสาทอยู่ใน dorsal root ganglion ใกล้กับไขสันหลัง ตัวเซลล์ประสาทจะมีแขนงสั้นๆ ยื่นออกจากตัวเซลล์ และแตกออกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งยาวไปยังบริเวณที่รับความรู้สึกต่างๆ เช่น ผิวหนัง โดยส่วนปลายของเส้นประสาทเปลี่ยนแปลงทำหน้าที่เป็น receptor (เช่น paccinian corpuscle, Ruffini Krause หรือ free nerve ending ganglion) ทำหน้าที่รับตัวกระตุ้นต่างๆ โดยตรง หรือรับไซแนปส์จาก receptor cell ส่วนอีกแขนงเดินทางเข้าสู่ไขสันหลัง นำสัญญาณส่งผ่านไซแนปส์ให้ interneuron ในไขสันหลัง ปลายประสาทด้านที่ทำหน้าที่เป็น Receeptor ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม จะเกิด depolarization (Receptor potential) บริเวณปลายและชักนำให้เกิด action potential บริเวณโคนของ Receptor และ action potential เดินทางผ่านตัวเซลล์เข้าสู่แขนงที่เดินทางเข้าสู่ไขสันหลัง 

 

   ดังนั้นถ้าพิจารณาในแง่ทิศทางการนำสัญญาณของแขนงประสาทส่วนแรกเป็นการนำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์คล้ายเดนไดรต์ แต่ถ้าพิจารณาในแง่ลักษณะโครงสร้างที่มีขนาดสม่ำเสมอ มีเยื่อไมอีลินหุ้ม และการทำงานส่งกระแสประสาทโดย action potential ซึ่งทั้งลักษณะโครงสร้างและการทำงานเหมือนส่วนที่สองที่นำกระแสประสาทจากตัวเซลล์เข้าสู่ไขสันหลังทุกประการ และถ้าตัวเซลล์ของเซลล์ประสาทย้ายที่อยู่ไปอยู่ที่โคนของ receptor จะมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในส่วนอื่นๆ ที่อวัยวะรับความรู้สึกอยู่ใกล้ตัวเซลล์ประสาท เช่น เซลล์ประสาทรับกลิ่น ดังนั้นแขนงประสาทของเซลล์ใน dorsal root gangloin น่าจะอนุโลมเรียก แอกซอนได้ ตามลักษณะโครงสร้างและการทำงาน หรืออาจเลี่ยงไปใช้คำกลางๆ เช่น nerve fiber ก็ได้

 

             Nervebody

ภาพที่ 1 เปรียบเทียบรูปร่างของเซลล์ประสาทชนิดต่างๆ ตัวเซลล์ประสาทและเดนไดรต์ เป็นบริเวณที่เกิดไซแนปส์ กับเซลล์ประสาทอื่นๆ แขนงของเดนไดรต์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวเซลล์สำหรับไซแนปส์ สัญญาณที่ก่อให้เกิด depolarization ของเมมเบรนจะถูกรวบรวมชักนำให้เกิด action potential บริเวณโคนของแอกซอน ซึ่งมีอยู่แขนงเดียว เป็นการส่งสัญญาณจากตัวเซลล์ประสาทสู่เซลล์ประสาทอื่นๆ หรือเซลล์ที่ทำหน้าที่ ตอบสนองต่อไป 

             
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก เซลล์ประสาทรับกลิ่นในโพรงจมูก และเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจาก dorsal root ganglion เซลล์ประสาทรับกลิ่นมีตัวเซลล์ประสาท อยู่ใกล้กับเดนไดรต์ที่ทำหน้าที่เป็น receptor รับสารเคมี สัญญาณ deporalization ของเมมเบรนบริเวณ เดนไดรต์จึงสามารถแผ่มาถึงบริเวณตัวเซลล์และ axon hillock ก่อให้เกิด action potential ตรงโคนของ axon แต่กรณีของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกใน dorsal root ganglion ตัวเซลล์ประสาทอยู่ไกลจาก receptor มาก การเกิด depolarization ไม่สามารถแผ่ถึงตัวเซลล์ได้ ต้องมีการเปลี่ยนเป็น action potential ตรงโคนของตัว receptor ซึ่งเทียบได้กับบริเวณ axon hillock นั่นเอง 


เว็บไซต์สำหรับอ่านเพิ่มเติม


1. http://kidkom.hypermart.net/physiology/physio_ans1.html
Health-Education - เว็บเพื่อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ โดย คิดคม และ วิลาสิณี 
2. http://www.epub.org.br/cm/n09/fundamentos/transmissao/voo_i.html
How Nerve Cells Work - Silvia Helena Cardoso,PhD  and Renato M. E. Sabbatini, PhD 
เมื่อเข้าไปในหน้านี้แล้ว ยังมี link ต่อไปยังหัวข้อย่อย ซึ่งมีภาพเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย ซึ่งน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ 
ในการเรียนการสอนได้ 
3. http://www.epub.org.br/cm/n07/fundamentos/neuron/rosto_i.html
Neurons: Our Internal Galaxy - Silvia Helena Cardoso, PhD (มีภาพประกอบ) 
มีคำถามที่น่าสนใจ คือ "ทำไมสมองถึงมีส่วนสีขาวและสีเทา" หาคำตอบได้ที่นี่ครับ 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เซลล์,ประสาท,รับ,ส่งกระแสประสาท,เซลล์,นิวเคลียส,ออร์แกเนล,แอกซอน ,Axon ,เดนไดรต์,Dendrite
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 04 มิถุนายน 2553
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
รศ.ดร.ไพศาล สิทธิกรกุล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 331 เซลล์ประสาทและการรับส่งกระแสประสาท /article-biology/item/331-neurons
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Arctic Tale ชีวิตหมีขาว... กับบ้านที่กำลังละลาย
Arctic Tale ชีวิตหมีขาว... กับบ้านที่กำล...
Hits ฮิต (9794)
ให้คะแนน
Arctic Tale ชีวิตหมีขาว... กับบ้านที่กำลังละลาย ห่างไกลจากดินแดนที่มนุษย์ทั้งหลายอาศัยอยู่ ไปยังด้า ...
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Penis)
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Peni...
Hits ฮิต (12097)
ให้คะแนน
10 เรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับน้องชาย (Penis) 1. รู้หรือไม่ว่าผู้ชายอย่างเรานั้นมีช่วงเวลาของจุดสุดยอด ...
โรคดีวีที (DVT)
โรคดีวีที (DVT)
Hits ฮิต (10538)
ให้คะแนน
....โรคดีวีที (DVT).... สุนทร ตรีนันทวัน ปัจจุบันนี้การเดินทางของคนเรามีความสะดวกมาก เดินทางจากประเ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินดินดาน (shale)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเรื่องการคูณ...
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ...
  • หินไนส์ (gneiss)...
  • คณิตศาสตร์วิถีเอเชีย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)