logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

โดย :
วิลาส รัตนานุกูล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
7921

คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

12968

โดย...นางสาววิลาส  รัตนานุกูล

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่งที่ร่างกายได้มาจากอาหาร และสร้างขึ้นเอง เนื่องจากมีความสำคัญต่อร่างกาย คือ ช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองและระบบย่อยอาหาร เป็นองค์ประกอบหลักของฮอร์โมนหลายชนิด รวมทั้งมีความจำเป็นในการสังเคราะห์วิตามินดี เป็นต้น

คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบไขมันชนิดหนึ่งจากไขมัน 4 ชนิดที่มีอยู่ในร่างกายของเรา คือ 

1.  ไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล 1 โมเลกุลและกรดไขมัน 3 โมเลกุล จัดเป็นไขมันที่เป็นกลาง ซึ่งถ้าหากใครมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง และมีระดับไลโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) น้อยหรือมีไลโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) มาก ก็จะทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

2.   ฟอสโฟลิพิด เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ 

3.  กรดไขมันอิสระ เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะถูกขนส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยอาศัยโปรตีนที่เรียกว่า อัลบูมิน (albumin)

4.   คอเลสเตอรอล เป็นสารที่ละลายในไขมันและเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้งน้ำดีและวิตามิน คอเลสเตอรอลถูกขนส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยอาศัยโปรตีนที่เรียกว่า ไลโพโปรตีน (lipoprotein) โดยไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ(low density lipoprotein-LDL) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย ส่วนไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein-HDL) จะทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายกลับมาที่ตับ เพื่อกำจัด ดังนั้นคอเลสเตอรอลสามารถแบ่งตามลักษณะการขนส่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลว และเอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี

คอเลสเตอรอลจัดเป็นปัจจัยเสี่ยง 3 รูปแบบ คือ

1. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนเป็นตัวกำหนดการผลิตคอเลสเตอรอล 
2. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากสามารถใช้ยาทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้ 
3. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถลดผลกระทบให้เบาบางลงได้ โดยการรับประทานอาหาร การลดน้ำหนักและการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคอเลสเตอ    รอลชนิดดี (HDL cholesterol) และลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL cholesterol) 
ปริมาณคอเลสเตอรอลในแต่ละวันจะผันแปรได้ตามชนิดของอาหารที่รับประทาน ความเครียด การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย ฯลฯ ถ้ามีปริมาณคอเลสเตอรอลมากเกินความจำเป็นจะส่งผลให้คอเลสเตอรอลดังกล่าวไปเกาะสะสมอยู่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้ช่องว่างภายในหลอดเลือดเล็กลง จนทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง แขนและขาได้น้อยลง ทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ ชาตามมือและเท้า มีความดันโลหิตสูง ตลอดจนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเนื่องจากมีไขมันสะสมที่บริเวณหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์และอัมพาต โรคหลอดเลือดตีบตามแขนขา และโรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ซึ่งข้อสังเกตคือ ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอ้วนเสมอไป คนผอมก็สามารถที่จะเป็นโรคต่างๆ นี้ได้ เพราะการผลิตคอเลสเตอรอลถูกควบคุมโดยกรรมพันธุ์

coles

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือสูงเกินค่าปกติได้คือ อาหาร ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้                
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมี 2 ชนิด คือ ไขมันแข็ง หรือไขมันอิ่มตัว ซึ่งมักได้จากสัตว์ และอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต อาหารพวกนี้ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก ๆ แต่ควรบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น การบริโภคไขมันจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของคอเลสเตอรอลจากพลาสมาเข้าสู่เนื้อเยื่อ เพราะกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีผลต่อการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์จึงทำให้มีการสลายตัวของ LDL เพิ่มขึ้น ส่วนกรดไขมันอิ่มตัวจะไปลดการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์  
การระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและออกกำลังกายสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย ประกอบกับการตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะเป็นการช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้ 

เอกสารอ้างอิง
1. นิติศักดิ์ อัศวโชคอนันท์. 2549.วายร้ายคอเลสเตอรอล. กรุงเทพฯ: ใกล้หมอ.  
2. http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/post.asp?method=TopicQuote&TOPIC_ID=1301&FORUM_ID=8
3. http://health.discovery.com/centers/heart/cholesterol/cholesterol.html
4. http://www.endocrinologist.com/choles.htm

 
 
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
คอเลสเตอรอล ,Cholesterol,ไขมัน,เลือด,เสี่ยง,โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรค,หลอดเลือดหัวใจ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 285 คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว /article-biology/item/285-2010-06-03-08-22-33
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ปะการัง .....พืชหรือสัตวกันแน่
ปะการัง .....พืชหรือสัตวกันแน่
Hits ฮิต (6148)
ให้คะแนน
ปะการัง .....พืชหรือสัตวกันแน่ ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่ ...
มารู้จักรังนกนางแอ่น
มารู้จักรังนกนางแอ่น
Hits ฮิต (7453)
ให้คะแนน
....มารู้จักรังนกนางแอ่น.... สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อพูดถึงรังนกนางแอ่นบางคนอาจจะรู้จัก และอีกหลายต่อ ...
ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Crocodile และ Alligator
ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Crocodile แล...
Hits ฮิต (9195)
ให้คะแนน
ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Crocodile และ Alligator ยุวศรี ต่ายคำ หลายคนคงเคยได้ยินภาษาอังกฤษคำว่า ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินดินดาน (shale)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเรื่องการคูณ...
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ...
  • หินไนส์ (gneiss)...
  • คณิตศาสตร์วิถีเอเชีย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)