logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?

อ่อนเพลียเรื้อรัง … เหตุจากลำไส้!! ตอนที่ 1 : สาเหตุ และ อาการ

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันเสาร์, 05 พฤศจิกายน 2559
Hits
5927

     อาการง่วง หรือหาวนอนบ่อยๆ เชื่อว่าเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่ต้องเคยเจอมาก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งเราสามารถทราบสาเหตุพื้นฐานได้ง่ายๆ เช่น เกิดจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเกิดจากบรรยากาศรอบตัวเหมาะแก่การงีบหลับนอนสักครู่ หรือบางทีก็เกิดจากการเบื่อ

cfs 1.1

    แต่บางครั้งเคยเจอหรือไม่ ถึงแม้ว่าคืนก่อนตะนอนหลับสนิท และนอนพักผ่อนเพียงพอ ทำไมตื่นเช้ามาถึงรู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง รู้สึกต้องการเตียงนุ่มๆแล้วหลับแล้วหลับอีกหลายๆตื่น หากเคยมีอาการแบบนี้ ท่านอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคฮิตอย่าง  “ภาวะอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง” อยู่ก็เป็นได้

cfs1.2

     อาการอ่อนเพลียเรื้อรังหรืออาการปวดกล้ามเนื้อเหตุจากสมองและไขสันหลังอักเสบที่เรียกย่อๆ ว่า CFS / ME (Chronic fatigue syndrome) หรือ อาการอ่อนเพลียหลังติดเชื้อไวรัส (Post-viral fatigue syndrome : PVFS) เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าที่ต่อเนื่องรุนแรง จนรบกวนชีวิตประจำวันเพราะอาการส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของ

สาเหตุของการเกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

      สาเหตุของ CFS / ME ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายถึงสาเหตุ เช่นเช่น อาจจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรืออาจเกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนในร่างกาย หรืออาจจะเกิดจากภาวะจิตใจ ที่เกิดความตึงเครียด แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น และปัจจุบันยังไม่มีหนทางในการรักษาให้หายขาดได้

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรค CFS สูง ได้แก่

-                   อายุช่วง 40-50 ปี

-                   ผู้หญิง เพราะพบโรคนี้ได้ในผู้หญิงพบบ่อยกว่าในผู้ชาย

-                   อ้วน

-                   ผู้ที่เฉื่อยชา

-                   ผู้มีความเครียด ซึมเศร้า ผู้ที่เคร่งเครียดกับการใช้ชีวิตมาก แยกตัวออกจากสังคม และ/หรือ ตกงาน

อาการของโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

CFS / ME ทำให้เกิดความอ่อนเพลียเหนื่อยล้ามากอันแตกต่างจากความเหนื่อยล้าตามปกติทั่วไป อาการที่พบบ่อยได้แก่

•              ความเมื่อยล้าที่กินเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

•              ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อต่อ โดยไม่มีอาการอักเสบ

•              เจ็บต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอหรือรักแร้

•              เจ็บคอและปวดหัว

•              อาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่

•              มีปัญหาในการนอนหลับ ตื่นขึ้นมายังรู้สึกเหนื่อยเหมือนไม่ได้พัก

•              หลงลืม สับสน ไม่มีสมาธิ

•              เวียนศีรษะ มีปัญหาในการทรงตัว

•              ใจสั่น

•              เหงื่อออก

•              อาการลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องผูก ท้องเสียและท้องอืด

cfs 1.3

    โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก และอาการไม่รุนแรง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงรักษาประคับประคองตามอาการเท่านั้น ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

 

      ล่าสุดข่าวที่น่ายินดี เมื่อคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) ได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า พวกเขาสามารถระบุ ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biological markers) ของโรคนี้ในแบคทีเรียในลำไส้และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเลือด โดยงานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Microbiome เมื่อวันที่ 23 เดือน มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งในงานวิจัยได้อธิบายถึงวิธีการวินิจฉัย โรค CFS / ME ใน คนไข้โดยการตรวจจากอุจจาระและเลือดซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในสาเหตุของโรคมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า “งานของเราแสดงให้เห็นว่า แบคทีเรียในลำไส้ของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรค CFS / ME ไม่ใช่แบคทีเรียชนิดปกติ ทำให้อาจจะนำไปสู่อาการทางระบบทางเดินอาหารและการอักเสบในคนไข้ นอกจากนี้ การตรวจสอบของความผิดปกติทางชีวภาพนี้นำไปสู่การค้นพบหลักฐานที่ขัดแย้งกลับคอนเซ็ปที่ว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับจิตวิทยา” และหนึ่งในผู้เขียน ได้สรุปว่า ในอนาคตเราอาจจะสามารถรักษาโรค CFS / ME ด้วยการปรับเปลี่ยนอาการการกิน, การใช้พรีไบโอติก (prepiotic) (คืออาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ทำให้ช่วยกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โปรไบโอติก) เช่น น้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลติทอล ซอร์บิทอล ไซลิทอล เป็นต้น หรือ พอลิแซ็กคาไรด์ เช่น เพคติน เซลลูโลส กัวกัม บีตากลูแคน เป็นต้น ซึ่งอาจจะสามารถรักษาโรคนี้ได้”

     นอกจากนี้ในงานวิจัยยังค้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบอุจจาระและเลือดของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรค CFS / ME กับคนปกติที่มีสุขภาพดี ผลพบว่า ในอุจจาระของคนไข้พบชนิดของจุลินทรีย์ที่แตกต่างจากคนปกติ โดยพบว่า ความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์ลดลง โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติสังเคราะห์สารต้านการอักเสบมีปริมาณลดลงมากเช่นเดียวกับอุจจาระของผู้ป่วยด้วยโรคลำไส้ และในขณะเดียวกันยังพบอาการอักเสบในกระแสเลือดเนื่องจากการรั่วของผนังลำไส้ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งแบคทีเรียที่เข้าไปในกระแสเลือดจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดอาการของโรคอย่างอื่นที่แย่ลงตามมา

     แต่ ถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้าที่ ช่วยให้สามารถหาหนทางในการรักษา หรือาจนำไปเป็นกรณีศึกษาเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่กระนั้นเรายังไม่สามารถฟันธง ได้ว่า สาเหตุการเกิดโรค CFS / ME เกิดจากการผิดปกติของชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือเพราะป่วยเป็นโรค CFS / ME จึงทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ผิดปกติกันแน่

เนื้อหาจาก

https://www.sciencedaily.com/releases/2016/06/160627160939.htm

http://www.vcharkarn.com/varticle/505766

http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0781/prebiotic

https://www.bupa.co.th/th/corporate/health-wellbeing/detail.aspx?tid=81

http://goodproduct.net/article/topic-13997.html

http://haamor.com/th/กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง

 

ภาพจาก

https://www.healthtap.com/topics/a-lack-of-sleep-causes-a-lack-of-energy

https://constantfuckingshit.wordpress.com/2014/05/07/5-days-to-go-mecfs-may-12-international-awareness-day-poster-two/

http://solvecfs.org/what-is-mecfs/

 

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป...
อ่านต่อ..
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป...
อ่านต่อ..
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.