เข้าใจ โรคไวรัสอีโบลา อย่างวิทยาศาสตร์
ในปี 2014 ได้เกิดการแพร่ระบาดของ “อีโบลา” ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งนับเป็นการระบาดของ อีโบลา ครั้งใหญ่ที่สุด และนับว่าเป็นการแพร่ระบาดครั้งสำคัญในปีนั้นที่ทั่วทั้งโลกเฝ้าจับตามอง และมีการระวังภัยอย่างเข้มงวดที่สุดของปี 2014 เลยทีเดียว
โดยก่อนหน้านี้นั้น ได้เกิดการแพร่ระบาดมาก่อนแล้วเช่นกัน ซึ่งได้มีเอกสารคำแนะนำสำหรับการควบคุมการติดเชื้อขณะดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อไข้เลือดออกอีโบลา มีชื่อเอกสารว่า Interim infection control recommendations for care of patients with suspected or confirmed Filovirus (Ebola, Marburg) haemorrhagic fever, March 2008
ซึ่งบันทึกตารางลำดับเวลาของการระบาดของโรคโดยไวรัสอีโบลาก่อนหน้านี้ ดังนี้
แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เกิดการแพร่ระบาดในไทย แต่กระนั้นประเทศไทยเองก็ได้มีการตามข่าวสารจากต่างประเทศ คอยเฝ้าระวังอย่างไม่ลดละเช่นกัน เพราะมีอัตราการแพร่ระบายที่สูงมาก และคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายในระยะเวลาสั้นๆ ถึงแม้การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ อีโบรา ก็ได้กลายมาเป็นไวรัสอีกชนิดนี้ที่เราควรมีความรู้ติดตัวเอาไว้ วันนี้เราจะมากล่าวถึง อีโบลา ในแบบวิทยาศาสตร์กัน
โรคไวรัสอีโบลาพบการระบาดครั้งแรกในปีค.ศ. 1976 หรือประมาณปีพ.ศ. 2519 พร้อมกัน 2 ที่คือในเมือง Nzara ประเทศซูดาน และเมือง Yambuku สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งต่อมาเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคไวรัสอีโบลาเนื่องจากเหตุการณ์ระบาดเกิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำอีโบลา สกุลของไวรัสอีโบลา Ebolavirus นี้ เป็น 1 ใน 3 ของสกุลที่อยู่ในวงศ์ Filoviridae (filovirus) ของเชื้อไวรัส คือ สกุล Marburgvirus และ Cuevavirus ซึ่งไวรัสอีโบลานั้นมี 5 ชนิดคือ
BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด
แหล่งรังโรคตามธรรมชาติ ยังไม่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน ทวีปอาฟริกา และแปซิฟิกตะวันตกดูเหมือนว่าน่าจะเป็นแหล่งโรค แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ ถึงแม้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น ลิง จะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในมนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่รังโรค เชื่อว่าติดเชื้อมาจากสัตว์ป่า ปัจจับัน ตรวจพบเชื้อในพวก กอริลลา ชิมแปนซี (ไอวอรี่โค้ด และคองโก) กอริลลา(กาบอนและคองโก) และในสัตว์พวกกวางที่มีเขาเป็นเกลียว(คองโก) ในการศึกษาทางห้องปฎิบัติการครั้งหนึ่งแสดงว่าค้างคาวติดเชื้ออีโบลาแล้วไม่ตาย ทำให้เกิดสมมติฐานว่าสัตว์จำพวกนี้หรือไม่ ที่ทำให้เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่ในป่าแถบร้อนชื้น
การแพร่กระจาย และการติดต่อของเชื้อ
เชื้อโรคนี้ติดต่อกันทางการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ในประเทศแอฟริกานั้นมีรายงานการติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออย่างลิงชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง ละมั่งป่า เม่น โดยพบว่าสัตว์เหล่านี้จะมีอาการป่วยและตายอยู่ในป่าดิบชื้น
เชื้อไวรัสอีโบลากระจายจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อเมือก (mucous membrane) ที่เป็นแผลกับเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนอื่นๆของร่างกายผู้ติดเชื้อ และจากการที่ไม่ได้สัมผัสโดยตรงโดยผ่านการปนเปื้อนของเชื้อในสิ่งแวดล้อมเช่นจากของเหลว ในงานศพหากผู้ที่มาไว้อาลัยมีการสัมผัสร่างกายของผู้ป่วยที่ตายก็สามารถติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นจากโรคก็ยังสามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำอสุจิได้ถึง 7 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้น
สภาพทางปรสิตวิทยาในธรรมชาติของเชื้อไวรัสอีโบลา
ในประเทศแอฟริกา ค้างคาวผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ Hypsignathus monstrosus (hammer-headed fruit bat), Epomops franqueti (Franquet's epauletted bat) และ Myonycteris torquata (little collared fruit bat) เป็นที่อยู่ (host) ของไวรัสอีโบลา การกระจายตัวทางสภาพภูมิศาสตร์ของไวรัสอีโบลาอาจทำเกิดแนวทับซ้อนของค้างคาวผลไม้
ภาพจาก
http://www.epainassist.com/infections/ebola-virus
https://www.shutterstock.com/search/epaulets?search_source=base_keyword
http://www.slideshare.net/NamchaiChewawiwat/ebola-virus-disease
http://www.vcharkarn.com/varticle/61365
เนื้อหาจาก
http://www.slideshare.net/NamchaiChewawiwat/ebola-virus-disease
http://www.boe.moph.go.th/fact/Ebola.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/61365
http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/22-knowledge/18562-ebola-virus-disease