logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • สัตว์มีช่วงวัยทองหรือไม่?

สัตว์มีช่วงวัยทองหรือไม่?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 14 ธันวาคม 2560
Hits
962

           โดยทั่วไปวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในลักษณะของการหยุดความสามารถในการสืบพันธุ์ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องสิ้นอายุขัยลงหลังผ่านพ้นช่วงวัยทองไปแล้วเช่นสัตว์ชนิดอื่น ๆ

7745 1

ภาพที่ 1 หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน
ที่มา Thomas Hafeneth/Unsplash

           นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า ความสามารถและความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์จะค่อย ๆ ลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นระยะเสื่อมสภาพของการสืบพันธุ์ (Reproductive senescence) แต่การสืบพันธุ์ของสัตว์ส่วนใหญ่นั้นดูเหมือนว่าจะสามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงวัยชราและตายลงในที่สุด เพียงแต่จะมีกำลังการผลิตที่ลดลง

          ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาจำนวนมากอ้างว่า ช่วงวัยหมดประจำเดือนคือ ช่วงอายุหลังวัยสืบพันธุ์ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของฮอร์โมนและการตกไข่ที่เกี่ยวข้องกับวัยหลังเจริญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องยากที่จะวัดได้ในประชากรสัตว์ป่าที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ จนเมื่อปีค.ศ. 2015 การศึกษาหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการพบว่า ความจริงแล้ว วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์จำพวกปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เพียงแต่สัตว์เหล่านี้จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวหลังจากผ่านพ้นช่วงวัยหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด

          มนุษย์และวาฬ เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดในอาณาจักรสัตว์ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อได้อีกนานหลังผ่านพ้นวัยทองไปแล้ว สำหรับวาฬที่กล่าวข้างต้น หนึ่งในนั้นคือ วาฬเพชฌฆาตที่มีวัยเจริญพันธุ์อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 12 - 40 ปี แต่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกจนถึงอายุ 90 ปี และวาฬอีกชนิดคือ วาฬนำร่องครีบสั้นที่มีช่วงอายุที่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์อยู่ที่อายุ 7-35 ปีแต่มีชีวิตอยู่ต่อได้จนถึงอายุ 60 ปี

7745 2

ภาพที่ 2 วาฬเพชฌฆาต
ที่มา skeeze/Pixabay

          วัยทองในมนุษย์เป็นปริศนาทางวิวัฒนาการที่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนสำหรับคำถามที่ว่า เหตุใดผู้หญิงที่สูญเสียความสามารถในการสืบทอดทายาทในช่วงอายุประมาณ 50 ปียังคงสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้นานหลายปี? 

          นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนว่าอาจเป็นเรื่องของโครงสร้างของครอบครัว ตามสมมติฐานที่เรียกว่า Grandmother Hypothesis เป็นสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครือญาติในหน้าที่ของการเลี้ยงดูบุตรหลาน ซึ่งทำให้แรงจูงใจในการแพร่พันธุ์กลายเป็นการให้ความช่วยเหลือลูกหลานให้มีความสามารถและความพร้อมต่อการสืบเชื้อสายต่อไป เป็นสมมติฐานหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของเชื้อสายมากกว่าโอกาสในการขยายเผ่าพันธุ์

7745 3

ภาพที่ 3 ความสัมพันธุ์ในเครือญาติ
ที่มา jcall/Pixabay

          หากมองในมุมมองของการแข่งขันในด้านทรัพยากร สมมติฐานที่อธิบายวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนได้ดีอีกสมมติฐานหนึ่งคือ Reproductive Conflict Hypothesis เสนอว่า อาหาร เวลา และความช่วยเหลือด้านการดูแลเด็กระหว่างคนที่อาศัยอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิวัฒนาการของวัยทอง ซึ่งมนุษย์อาจมีช่วงเวลาของการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างรุ่นของเพศหญิง (เช่นแม่สามีกับลูกสะใภ้) ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ภายในครอบครัวเดียวกัน และเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดของเด็กเกิดใหม่ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนทรัพยากรสำหรับการเจริญเติบโต จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าหมดความสามารถในการแพร่พันธุ์ลงไป 

          นอกจากนี้ยังมีสมมติฐานอื่นอย่าง Mother hypothesis ที่กล่าวว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะมีภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร รวมทั้งความเสี่ยงต่อโอกาสในการมีชีวิตรอดของบุตรด้วย จึงทำให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและประสิทธิภาพที่ดีด้านพันธุกรรมสำหรับการแพร่พันธุ์ต่อไป  

          แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะพยายามนำเสนอสมมติฐานต่าง ๆ เพื่ออธิบายรูปแบบของการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัยหลังเจริญพันธุ์ให้เข้าใจง่ายที่สุด  แต่ก็ยังคงไม่มีสมมติฐานใดที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของวัยหมดประจำเดือนได้อย่างชัดเจน

แหล่งที่มา

Joseph Castro. (2017, 3 October). Do Animals Have Menopause?
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/60587-do-animals-have-menopause.html

Lindsey Konkel. (2012, 21 August). Do Animals Have Menopause?
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/22574-animals-menopause.html

Lindsey Konkel.(2012, 23 August). Why Women Go Through Menopause: Blame the In-Laws.
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/22583-why-menopause-evolved-competition-inlaws.html

Wynne Parry. (2010, 30 November). Why Women and Whales Share a Rich Post-Breeding Life.
          Retrieved October 12, 2017, 
          from https://www.livescience.com/9024-women-whales-share-rich-post-breeding-life.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สัตว์มีช่วงวัยทองหรือไม่?
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 14 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
บัวบก ปะทะ ปลิง
บัวบก ปะทะ ปลิง
Hits ฮิต (5816)
ให้คะแนน
...บัวบก ปะทะ ปลิง... เภสัชกร ศุภชัย ติยวรนันท์ หนาวนี้ใกล้เข้ามาทุกขณะที่นั่งคิด และนั่งคิดอะไรต่อ...
มาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ตามแนวกา...
มาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่...
Hits ฮิต (24843)
ให้คะแนน
มาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ตามแนวการจัดระบบใหม่ (ตอนจบ) โดย...ดร.วนิดา ธนป...
เรียนวิทยาศาสตร์ทั้งครอบครัวจากไอศครีม
เรียนวิทยาศาสตร์ทั้งครอบครัวจากไอศครีม
Hits ฮิต (12981)
ให้คะแนน
...เรียนวิทยาศาสตร์ทั้งครอบครัวจากไอศครีม... แม่เกาลัด เข้าสู่ห้องปฏิบัติการไอศครีม ไอศครีมเย็น ๆ ล...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.